ปรัชญาของวิทยาเขต ( Philosophy)

“ความเป็นเลิศทางวิชาการตามแนวพระพุทธศาสนา”
“Academic Excellence based on Buddhism”

ปณิธาน (Aspiration)

มุ่งเน้นให้มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต ผลิตบัณฑิตให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการตามแนว
พระพุทธศาสนา พัฒนากระบวนการดำรงชีวิตในสังคมด้วยศีลธรรม ชี้นำและแก้ปัญหาสังคมด้วยหลักพุทธธรรมทั้งในระดับชาติและนานาชาติ

วิสัยทัศน์และพันธกิจ

วิสัยทัศน์ (Vision Statements)
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการตามแนวพระพุทธศาสนา มุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตและบุคลากรในด้านต่าง ๆ ให้มีคุณภาพและคุณธรรมตามแนวพระพุทธศาสนา ให้บริการวิชาการแก่สังคม ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิจัยพัฒนาตามกรอบแห่งศีลธรรม ส่งเสริมการวิจัยทางด้านพระพุทธศาสนาเพื่อนำไปพัฒนาสังคมและคณะสงฆ์

พันธกิจ (Mission Statements)

1. ผลิตบัณฑิต ให้มีคุณสมบัติตามปรัชญาของวิทยาเขต เปิดโอกาสให้พระภิกษุ สามเณรและประชาชนทั่วไปได้มีโอกาสศึกษามากขึ้น
2. บริการวิชาการแก่สังคม ตามแนวพระพุทธศาสนา โดยใช้หลักพุทธธรรมในการแก้ปัญหาสังคมและในการดำเนินชีวิตประจำวันแก่ประชาชน ชุมชน และสังคม
3. ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อให้วิทยาเขตเป็นศูนย์ศิลปะและวัฒนธรรมแก่ชุมชนและท้องถิ่น
4. วิจัย และพัฒนางานวิชาการด้านพระพุทธศาสนาเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ ๆ ในการนำผลการวิจัยไปพัฒนาและแก้ปัญหาสถาบันสงฆ์และสังคม

นโยบายของวิทยาเขต

วิทยาเขตศรีล้านช้าง เน้นการเรียนการสอนวิชาการทางพระพุทธศาสนา มุ่งสร้างบัณฑิตให้มีคุณสมบัติเป็นผู้เพียบพร้อมด้วยความรู้ดีและประพฤติดี มีหน้าที่ให้การศึกษา และส่งเสริมการศึกษาวิชาการชั้นสูงทางพระพุทธศาสนา และวิชาที่เกี่ยวข้อง มุ่งเผยแผ่พระพุทธศาสนา วิจัยด้านพระพุทธศาสนา ให้การบริการวิชาการแก่สังคม เป็นผู้นำทางศีลธรรมในสังคม และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของชาติ มีนโยบายดังต่อไปนี้
1. ผลิตบัณฑิตทางด้านวิชาการพระพุทธศาสนา ที่มีคุณภาพและคุณธรรม ทั้งด้านความรู้ความประพฤติ ให้โอกาสทางการศึกษา และความเสมอภาค ทางการศึกษา ทั้งพระภิกษุ สามเณร และประชาชนทั่วไป ให้สอดคล้องกับความต้องการของพระพุทธศาสนาและประเทศชาติ 2. บริการวิชาการพระพุทธศาสนาแก่ชุมชนอย่างกว้างขวาง เป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนทาง วิชาการแสวงหาความร่วมมือและร่วมกันป้องกันปัญหายาเสพติดและแก้ไขปัญหาสังคม
3. เพิ่มบทบาทของวิทยาเขตในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมด้วย
การพัฒนาในด้านต่าง ๆ โดยร่วมมือกับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน
4. สนับสนุนและส่งเสริมการค้นคว้าวิจัย ตลอดจนหาปัจจัยในการทำงานให้เพียงพอ เพื่อความก้าวหน้าทางวิชาการและคุณภาพการศึกษา
5. พัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ ส่งเสริมและสนับสนุนให้นำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน
6. ปลูกฝัง เสริมสร้างค่านิยมทัศนคติ ให้ยึดมั่นในระเบียบ สามัคคี และบำเพ็ญประโยชน์ซึ่งจะส่งผลต่อความเจริญมั่นคงของสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ภายใต้พุทธปรัชญาการปกครองระบบธรรมาธิปไตย
7. พัฒนาบุคลากรทุกระดับให้มีคุณภาพเพิ่มสวัสดิการให้เพียงพอ ส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรทุกคนมีความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในการปฎิบัติงาน
8. พัฒนาวิทยาเขตให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ในส่วนท้องถิ่นเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนเป็นองค์กรชี้นำสังคมสู่การพัฒนาที่ถูกต้องให้เกิดประโยชน์ในปัจจุบัน อนาคต และประโยชน์สูงสุดแก่มวลชน
9. ปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณวิทยาเขต ให้เหมาะสมและเอื้อต่อการเรียนรู้ เพื่อให้การดำเนินงาน ตามนโยบายดังกล่าวบรรลุผลสำเร็จ ได้มาตรฐานและมีประสิทธิภาพสูง วิทยาเขตจึงได้กำหนดเป้าหมายไว้ดังนี้

เป้าหมายการดำเนินงาน

เพื่อให้นโยบายบรรลุตามวัตถุประสงค์ วิทยาเขตศรีล้านช้าง จึงกำหนดเป้าหมายการดำเนินงานในแผนพัฒนาวิทยาเขต ระยะที่ 10 (2550 – 2554) ที่สำคัญ ๆ ไว้ ดังต่อไปนี้
1. ผลิตบัณฑิตในระดับปริญญาตรีให้ได้เฉลี่ยประมาณปีการศึกษาละ 300-400 รูป/คนและปริญญาโทให้ได้เฉลี่ยประมาณปีการศึกษาละ 40-50 รูป/คน
2. จัดประชุมสัมมนาและจัดทำกิจกรรม/โครงการ เพื่อให้บริการวิชาการแก่สังคมตามแนวพระพุทธศาสนาปีละ 5-7 ครั้ง
3. จัดประชุมสัมมนาและจัดทำกิจกรรม/โครงการ เพื่อส่งเสริมอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมตามหลักการของพระพุทธศาสนา ปีละ 5-7 ครั้ง
4. ให้ทุนการศึกษาและทุนวิจัยแก่บุคลากรของวิทยาเขตเพื่อพัฒนาศักยภาพของบุคลากร
5. เพื่อสร้างองค์ความรู้ในการพัฒนาวิทยาเขต สถาบัน และสังคมปีละ 2-3 เรื่อง และพัฒนาระบบการค้นคว้าผลงานด้านวิจัยให้ได้มาตรฐานสากลสืบค้นได้รวดเร็วและมีระบบเครือข่ายเชื่อมโยงได้กับหน่วยงานภายนอก
6. ปรับปรุงโครงสร้าง จัดระบบการบริหารงานให้มีความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพสูงภายในปี พ.ศ. 2553-2554
7. พัฒนาและส่งเสริมทางวิชาการให้แก่อาจารย์ประจำ เช่น การจัดฝึกอบรมสัมมนาปีละ 2-3 ครั้ง เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ด้านการสอน การวิจัย การบริหาร และเทคโนโลยีใหม่ ๆ ให้กับอาจารย์ให้ทั่วถึงกัน
8. จัดส่งนักศึกษาของวิทยาเขตออกไปปฏิบัติงานด้านการให้การศึกษา การเผยแพร่กิจกรรมทางพระพุทธศาสนาและหลักวิชาการอื่น ๆ ในท้องถิ่นปีละ 60 รูป

ศาสนสุภาษิตประจำมหาวิทยาลัย

วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโฐ เทวมานุเส
แปลว่า ผู้สมบูรณ์ด้วยความรู้และความประพฤติ เป็นผู้ประเสริฐในเทพและมนุษย์

สีประจำมหาวิทยาลัย

สีส้ม เป็นสีประจำพระองค์รัชกาลที่ 4 ซึ่งพระราชสมภพตรงกับวันพฤหัสบดี

ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย

ต้นโพธิ์ ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

คติพจน์ประจำตัวนักศึกษา

ระเบียบ สามัคคี บำเพ็ญประโยชน์