ข้อมูลหลักสูตร

ชื่อปริญญา (ภาษาไทย)

ชื่อเต็ม : รัฐศาสตรบัณฑิต (รัฐศาสตร์)
ชื่อย่อ : ร.บ. (รัฐศาสตร์)

ชื่อปริญญา (ภาษาอังกฤษ)

ชื่อเต็ม : Bachelor of Political Science (Political Science)
ชื่อย่อ : B.Pol.Sc. (Political Science)

จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร 134 หน่วยกิต

  • หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 24 หน่วยกิต
  • หมวดวิชาเฉพาะ 110 หน่วยกิต
    • กลุ่มวิชาพระพุทธศาสนา 30 หน่วยกิต
      • บังคับเรียน 12 หน่วยกิต
      • เลือกเรียน 18 หน่วยกิต
    • กลุ่มวิชาเอกการปกครอง 74 หน่วยกิต
      • บังคับเรียน 60 หน่วยกิต
      • เลือกเรียน 6 หน่วยกิต
      • ฝึกประสบการณ์ภาคสนาม 8 หน่วยกิต
  • หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
สมัครเข้าศึกษาต่อ เรียนจันทร์ – ศุกร์ สมัครเข้าศึกษาต่อ เรียนเสาร์-อาทิตย์

รายละเอียดของหลักสูตร

ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร (PLOs)

  • PLO 1 แสดงออกถึงความเป็นผู้มีเบญจศีล เบญจธรรม ตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่สอดคล้องตามอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัย มาพัฒนาตนเองและสังคม
  • PLO 2 ประยุกต์ใช้องค์ความรู้ แนวคิด ทฤษฎีทางรัฐศาสตร์ ศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และสถานการณ์ทางการเมือง มาใช้ในการเรียนรู้ตลอดชีวิต
  • PLO 3 แสดงออกซึ่งลักษณะของความเป็นนักรัฐศาสตร์ที่เป็นนักปกครองตามหลักธรรมาภิบาล มีพฤติกรรมที่สะท้อนถึงความมีคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณในการประกอบอาชีพ
  • PLO 4 แสดงพฤติกรรมที่สะท้อนถึงภาวะผู้นำ ทำงานเป็นทีมร่วมกับผู้อื่น หรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง และสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ
  • PLO 5 วิเคราะห์สถานการณ์ทางการเมืองได้อย่างเหมาะสม รู้เท่าทัน เรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยตนเองและพิจารณาข้อมูลอย่างมีวิจารณญาณเหมาะสมกับการดำรงชีวิตยุคดิจิทัล
  • PLO 6 แสดงออกถึงความเป็นพลเมืองที่มีจิตสาธารณะ รับผิดชอบต่อสังคม เห็นประโยชน์ส่วนรวม เคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ โดยคำนึงถึงวิถีการดำเนินชีวิตและบริบทพหุวัฒนธรรม

การอนุมัติและรับทราบหลักสูตร

อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

พระครูพิสุทธิธรรมาภรณ์

ศน.ม. รัฐศาสตร์การปกครอง
ศน.บ. รัฐศาสตร์การปกครอง

นายเกษม ประพาน

ศน.ม. รัฐศาสตร์การปกครอง
พธ.บ. รัฐศาสตร์
ศน.บ. พุทธศาสตร์

นายธนวัฒน์ ชาวโพธิ์

ร.ม. รัฐศาสตร์การปกครอง
ศน.บ. รัฐศาสตร์การปกครอง

นางวิระยา พิมพ์พันธ์

ร.ม. รัฐศาสตร์
ศน.บ. พุทธศาสตร์

นายภัทรพล เสริมทรง

ร.ม. รัฐศาสตร์การปกครอง
ศน.บ. รัฐศาสตร์การปกครอง

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

องค์กรภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ

ได้แก่ ปลัดอำเภอ ทหาร อนุศาสนาจารย์
บุคลากรทางการศึกษาของรัฐ นักวิจัย นักการทูต นักบริหารทรัพยากรมนุษย์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผน นักการเมืองท้องถิ่น นักการเมืองระดับชาติ เจ้าหน้าที่ศาลปกครอง

องค์กรอิสระ

พนักงานในหน่วยงานขององค์กรอิสระ องค์การมหาชน องค์การไม่แสวงหากำไร

องค์การภาคเอกชน

ได้แก่ พนักงานธนาคาร พนักงานสถาบันการเงิน เจ้าหน้าที่บริหารงานบุคคล เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป นักสื่อสารมวลชน

องค์การคณะสงฆ์

เจ้าหน้าที่สำนักงานพระพุทธศาสนาประจำจังหวัด
ศาสนพิธีกร พระธรรมทูต พระนักเผยแพร่ พระนักพัฒนา