เมื่อวันที่ ๙ เมษายน ๒๕๖๔
พระมหาวิเชียร ธมฺมวชิโร,ดร. รองอธิการบดี มอบหมายให้ พระครูพิสุทธิธรรมาภรณ์ รักษาการผู้อำนวยการวิทยาลัยศาสนศาสตร์ นำพระนักศึกษา เข้ารับทุนทุนเล่าเรียนหลวงสําหรับพระสงฆ์ไทย ประจําปี ๒๕๖๔ ณ ศาลาสหทัยสมาคม ในพระบรมมหาราชวัง แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ ประธานองคมนตรี เป็นผู้แทนพระองค์ ในการถวายทุนการศึกษาพระราชทาน ของโครงการทุนเล่าเรียนหลวงสําหรับพระสงฆ์ไทย ประจําปี ๒๕๖๔ ในวันศุกร์ ที่ ๙ เมษายน ๒๕๖๔ ณ ศาลาสหทัยสมาคม ในพระบรมมหาราชวัง แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
โดยในปี ๒๕๖๔ พระภิกษุสามพระภิกษุสามเณร ผู้ได้รับการพิจารณาคัดเลือกเข้ารับการถวายทุนการศึกษาพระราชทาน ทุนเล่าเรียนหลวงสําหรับพระสงฆ์ไทย ประจําปีการศึกษา ๒๕๖๒ – ๒๕๖๓ จํานวน ๒๓๔ รูป ดังนี้
๑. พระพรหมบัณฑิต เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร ในนามผู้รับผิดชอบโครงการฝึกอบรมพระนักเทศน์ ทุนเล่าเรียนหลวง รุ่นที่ ๑
๒. พระเทพกิตติเวที เจ้าอาวาสวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร ในนามผู้รับผิดชอบโครงการฝึกอบรม พระธรรมจาริกทุนเล่าเรียนหลวง รุ่นที่ ๑
๓. พระเทพปริยัติมุนี รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตบาฬีศึกษาพุทธโฆส นครปฐม ในนามผู้รับผิดชอบโครงการฝึกอบรมพระวิปัสสนาจารย์ทุนเล่าเรียนหลวง รุ่นที่ ๑
๔. พระนิสิตทุนบาลีศึกษาชั้นสูง กองบาลีสนามหลวง ในระดับเปรียญธรรม ๖ ประโยค รวมจํานวน ๑๐๙ รูป
๕. พระนิสิตทุนระดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในระดับปริญญาเอก ปริญญาโท และปริญญาตรี รวมจํานวน ๗๕ รูป
๖. พระนิสิตทุนระดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ในระดับปริญญาเอก ปริญญาโท และ ปริญญาตรี รวมจํานวน ๔๗ รูป
การนี้นางกณิกนันต์ ล้อสีทอง ผู้ตรวจราชการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ พร้อมด้วยผู้บริหาร ข้าราชการ เจ้าหน้าที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ร่วมอำนวยความสะดวกพระภิกษุสงฆ์ที่เข้ารับทุนการศึกษาพระราชทาน ของโครงการทุนเล่าเรียนหลวงสําหรับพระสงฆ์ไทย ประจําปี ๒๕๖๔
สำหรับโครงการทุนเล่าเรียนหลวงสำหรับพระสงฆ์ไทย เกิดขึ้นได้ด้วยราชอาณาจักรไทยสถิตสถาพรอยู่ได้ด้วยมีสถาบันพระพุทธศาสนา และสถาบันพระมหากษัตริย์คอยเกื้อหนุน ค้ำจุนให้ดํารงความเป็นไทยสืบมานับแต่บรรพกาลตราบกระทั่งปัจจุบัน การดํารงอยู่ของพระพุทธศาสนาบนแผ่นดินไทย ย่อมเสมอด้วยการดํารงอยู่ของชาติบ้านเมือง พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์จึงทรงรับพระราชภาระ ใส่พระราชหฤทัยทํานุบํารุง การศึกษาพระปริยัติธรรม ทรงพากเพียรแก้ไขปัญหาและอุปสรรคให้ผ่านพ้น ดลบันดาลความเจริญก้าวหน้ามาสู่การศึกษา ของพระสงฆ์ไทยสืบมาทุกยุคทุกสมัย ด้วยตราบใดที่พระปริยัติธรรมยังคงดํารงอยู่อย่างบริสุทธิ์บริบูรณ์ และตราบใดที่ พระสงฆ์ยังคงทําหน้าที่เผยแผ่พระสัทธรรมได้อย่างถูกต้องตามหลักการในพระไตรปิฎก ตราบนั้นก็เปรียบประดุจสมเด็จพระ สัมมาสัมพุทธเจ้ายังเสด็จดํารงพระชนม์ชีพอยู่เป็นพระศาสดาของพระศาสนานี้มิมีวันดับสูญ
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงเล็งเห็นถึงความสําคัญ ในการสืบสานพระพุทธศาสนาให้เกิดความยั่งยืนโดยให้พระภิกษุและสามเณรได้ศึกษาพระธรรมอย่างแตกฉานและนําไป ถ่ายทอดได้อย่างถูกต้องการนี้ทรงเป็นผู้พระราชทานกําเนิดโครงการทุนเล่าเรียนหลวงสําหรับพระสงฆ์ไทย แม้สด็จสวรรคต ล่วงลับไปแล้ว แต่สมเด็จบรมบพิตร พระราชสมภารเจ้ารัชกาลปัจจุบัน ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐยังทรงเอาพระราชหฤทัยใส่ สืบสาน รักษา และต่อยอดพระราชกรณียกิจประการนี้สืบมา สมควรที่ พุทธบริษัททุกหมู่เหล่า จักร่วมกันเจริญรอยตามเบื้อง พระยุคลบาทสนับสนุนโครงการนี้ เพื่อความไพบูลย์วัฒนาของการศึกษาสําหรับพระสงฆ์ไทย อันจักยังคุณูปการยิ่งใหญ่แก่ สถาบันชาติและสถาบันพระพุทธศาสนาเป็นหลักชัยของชีวิตชาวไทยทั้งหลายสืบไป
ด้วยสํานึกในพระกรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อมหาที่สุดไม่ได้ โครงการทุนเล่าเรียนหลวงสําหรับพระสงฆ์ไทย น้อมรับสนองพระบรมราโชบายและเล็งเห็นถึงความสําคัญของการเผยแผ่พระพุทธศาสนาด้วยการส่งเสริมศาสนทายาท คือ พระภิกษุและสามเณร ผู้มีความศรัทธาในบวรพระพุทธศาสนา ได้ศึกษาพระธรรมวินัยอย่างตั้งใจและมุ่งมั่นที่จะทําหน้าที่ ถ่ายทอดเผยแผ่หลักธรรมคําสอนของสมเด็จพระสัมมาพระพุทธเจ้าได้อย่างถูกต้องเพื่อธํารงไว้ ซึ่งพระพุทธศาสนาให้มีความ มั่นคงเจริญสืบไป
ภาพ/ ข่าว : กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ